เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
เล่าเรียนมาแล้วไว้ได้ คือ ธรรมเหล่าใด ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามใน
ท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ธรรมเห็นปานนั้นเป็นธรรมที่เขาเล่าเรียนมามาก ทรงจำ
ไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดชัดเจนตามทฤษฎี
คำว่า ทรงธรรม ได้แก่ ทรงธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
คำว่า พึงคบ... ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม อธิบายว่า พึงคบ คือ พึงคบหา
เสพ เสพเป็นนิจ พึงซ่องเสพ เสพเฉพาะมิตรผู้เป็นพหูสูต และผู้ทรงธรรม
รวมความว่า พึงคบ ... ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม
คำว่า มิตร... ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ อธิบายว่า มิตร ผู้ยิ่งใหญ่ด้วยศีล สมาธิ
ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

ว่าด้วยบุคคลผู้มีปฏิภาณ 3 จำพวก
คำว่า มีปฏิภาณ ได้แก่ บุคคลผู้มีปฏิภาณ 3 จำพวก คือ
1. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ
2. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา
3. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณ(ความรู้)
ของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณ
เพราะปริยัติ
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ เป็นผู้ไต่สวนในเรื่องความหมาย ในเรื่องที่ควรรู้
ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ(ความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้) ญาณของ
เขาย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการไต่สวน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :463 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้บรรลุสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 อริยมรรค 4
สามัญญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 บุคคลนั้นรู้เหตุ รู้ผล รู้นิรุตติ (ภาษา)
เมื่อรู้เหตุ เหตุย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้ผล ผลย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุตติ นิรุตติย่อม
แจ่มแจ้ง ญาณในเหตุ ผล และนิรุตติทั้ง 3 เหล่านี้ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
พระปัจเจก สัมพุทธเจ้าประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม
เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ ฉะนั้น พระ
ปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มีปฏิภาณ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม
ญาณอะไรเล่าจักแจ่มแจ้งแก่เขาได้ รวมความว่า มิตร ... ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ
คำว่า รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความสงสัย อธิบายว่า รู้จัก คือ รู้ยิ่ง
ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ซึ่งประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า
ประโยชน์อย่างยิ่ง พึงกำจัด ได้แก่ พึงขจัดเฉพาะ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีซึ่งความสงสัยอีก รวมความว่า รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความ
สงสัย ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม ผู้ยิ่งใหญ่
มีปฏิภาณ รู้จักประโยชน์แล้ว พึงกำจัดความสงสัย
ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[145] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ชื่นชมการเล่น
ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่ใส่ใจ
งดเว้นจากฐานะแห่งการประดับตกแต่ง พูดคำจริง
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :464 }